การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน
โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง
“ องค์ประกอบศิลป์
” คือ จุด
เส้น รูปร่าง
รูปทรง น้ำหนัก
สี และพื้นผิว
นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ
ดังนี้
1. ความเป็นหน่วย
(Unity)
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน
หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ
และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน
2. ความสมดุลหรือความถ่วง
(Balancing)
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ
ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ
มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ
2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน
(Symmetry Balancing)
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา
บน-ล่าง
เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย
2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน
(Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้
เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว
(Texture) ด้วยแสง-เงา
(Shade) หรือด้วยสี (Colour)
2.3 จุดศูนย์ถ่วง
(Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่
การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง
ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก
ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน
การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา
ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง
2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา
น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา
รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด
ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง
3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ
( Relativity of Arts)
ในเรื่องของศิลปะนั้น
เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน
อันได้แก่
3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ
(Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น
โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ
ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
3.2 จุดสำคัญรอง
( Subordinate)
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่
1ส่วนที่ 2 ก็ได้
ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง
ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
3.3 จังหวะ
( Rhythem)
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ
ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น
สี เงา
หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ
ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง
3.4 ความต่างกัน
( Contrast)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย
จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน
ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น
เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่
5 อยู่ด้วย 1 ตัว
เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก
ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป
3.5 ความกลมกลืน
( Harmomies)
ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว
ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม
ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่
เส้น แสง-เงา
รูปทรง ขนาด
ผิว สี
นั่นเอง
ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์
นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์
วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่
9 ประการ คือ
• หน้าที่ใช้สอย
( FUNCTION)
• ความปลอดภัย
(SAFETY)
• ความแข็งแรง
(CONSTRUCTION)
• ความสะดวกสบายในการใช้
(ERGONOMICS)
• ความสวยงาม
(AESTHETIES)
• ราคาพอสมควร
(COST)
• การซ่อมแซมง่าย
(EASE OF MAINTENANCE)
• วัสดุและการผลิต
(MATERIALS AND PRODUCTION)
• การขนส่ง
(TRANSPORTATION)
1 หน้าที่ใช้สอย
หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย
ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี
(HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร
(LOW FUNTION)
สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี
(HIGH FUNCTION) นั้น
ดลต์ รัตนทัศนีย์
( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ
แต่จะกล่าวว่า มีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี
(HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้
จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น
ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้
ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย
และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย
ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์
เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก
ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ
ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้
แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่
เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น
สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น
มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์
มีดสับกระดูก มีดบะช่อ
มีดหั่นผัก เป็นต้น
ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน
ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ
สับบะช่อ สับกระดูก
หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้
แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร
หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้
เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง
การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน
หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้
คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก
ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก
พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร
ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร
นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ
ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ
ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง
ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน
ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก
ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด
2 ความปลอดภัย
สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใด
ย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ
มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า
การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้
ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
ต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม
นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญ
มีการออกแบบบางอย่าง ต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดา
แต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย
เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว
ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว
ล็อกใบพัดของพัดลม จะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ
ไป เพื่อความปลอดภัย
สำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ
ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้
3 ความแข็งแรง
ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน
หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก
เช่น โต๊ะ
เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก
อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ
เพราะมีปัญหาว่า ถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรง
จะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้
ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ
และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่า
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์
นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ
โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย
4 ความสะดวกสบายในการใช้
นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน
ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ
ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย
ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์
(ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์
(PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ
ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ
ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ
หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY)
ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้
จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด
(DIMENSIONS) ส่วนโค้ง
ส่วนเว้า ส่วนตรง
ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้
ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ
ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว
ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน
เช่น เก้าอี้
ด้าม เครื่องมือ
อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์
ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ
เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น
ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน
จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี
เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก
ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก
ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย
เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม
ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์
5 ความสวยงาม
ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย
ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ
ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ
ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง
ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ
หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ
ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์
ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ
รูปร่าง (FORM) และสี
(COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี
ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด
รูปร่าง สี
ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ
แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ
ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม
ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์
นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชา
ทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี
ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน
6 ราคาพอสมควร
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้ว
ผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด
อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด
นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์
ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้น
ก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุ
และเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว
เหมาะสม
อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้ว
ปรากฏว่า ราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้
ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ
กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น
เรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย
7 การซ่อมแซมง่าย
หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์
เครื่องจักรกล เครื่องยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน
อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด
นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู
เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ
ให้สะดวก ในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย
8 วัสดุและวิธีการผลิต
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์
อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบ
แต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด
ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ
ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้ง
โดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิด
จะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป
เช่น มีความใส
ทนความร้อน ผิวมันวาว
ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น
เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้
มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่
ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ
เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้
ที่เรียกว่า รีไซเคิล
9 การขนส่ง
นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง
การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด
การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร
ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด
กว้าง ยาว
สูง เท่าไหร่
เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก
เช่น เตียง
หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง
ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย
คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วน
สามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก
เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐาน
เพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง
เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง
9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง
ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น
อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้
ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ
เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ
ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย
ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก
คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม
เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง
เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ
เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง
เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์
ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง
9 ข้อ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
: http://www.advertising.clickingme.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น