วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

Sony Vegas Pro : พื้นฐานในการตัดต่อวีดีโอและการตั้งค่า Project & Render


     หลังจากที่เราได้ทำการติดตั้งโปรแกรม Sony Vegas Pro 13.0 เรียบร้อยไปแล้ว นั่นคือเรามีเครื่องมือที่จะใช้แล้วละ ทีนี้จะใช้อย่างไร เริ่มตรงไหน? ... คงเป็นคำถามที่จะตามมาเยอะแยะเลย Workflow ที่เขาพูดๆ กัน จะเป็นอย่างไร ใจเย็นๆ ติดตามบทความไปเรื่อยๆ พร้อมลงมือทำ จะไม่เป็นเรื่องยากเลย

Workflow การตัดต่อวีดีโอง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน
การตั้งค่า Project ให้เหมาะสมกับไฟล์วีดีโอของเรา
การนำเข้า media ต่างๆ เช่น วีดีโอ ภาพนิ่ง เสียงเพลง, จัดเรียงลำดับงานของเราบน Timeline ตามที่เราต้องการ, การตกแต่ง ลูกเล่นโดยใช้ Effect หรือ Transition หรือ การใส่ตัวอักษร/ข้อความ, เสียงพากษ์หรือบรรยาย เพิ่มเติม
การส่งออก (Render) หลังจากตกแต่งเสร็จหมดทุกอย่างแล้ว เราก็จะทำการส่งออกไฟล์ ไปใช้งาน
     หลักๆ ก็เหมือนมี Input - Process - Output ... งานหลักในที่นี้คือกระบวนการ Process นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับเครื่องมือที่ต้องใช้งาน และต้องใส่ความคิด+จินตนาการ ของเราลงไป

     การตั้งค่า Project เราทำความเข้าใจเพียงครั้งเดียว ก็จะใช้หลักการได้ตลอดไป ... ใช้แนวคิดขบวนการที่ย้อนกลับ Output > Process > Input

     การตั้งค่า Render เราต้องรู้จุดประสงค์ก่อนว่าจะเอาไฟล์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วไปทำอะไร เพราะการนำไฟล์ไปใช้งานแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน

การตั้งค่า Project Properties
     เป็นการเริ่มต้นใหม่ด้วยคำสั่ง New ของทุกๆ โปรแกรม อย่างเช่นโปรแกรม MS-word ต้องกำหนดกั้นหน้า-กั้นหลัง, ระยะขอบ ... เหล่านี้เป็นต้น ในโปรแกรม Sony Vegas Pro ก็เช่นเดียวกัน
Project Property ง่ายๆ ให้ตั้งต่า frame rate ตาม video ที่ถ่ายมา ถ้าไม่รู้ให้ใช้เครื่องมือ "Match Media Video setting ... และตั้งค่า resolution ตามขนาดที่จะนำไปใช้"

     ข้อความบนนี้เป็นคำกล่าวของผู้มีประสบการณ์ ซึ่งส่วนมาแล้วพวกเขาจะ"ถ่ายวีดีโอเอง / ตัดต่อเอง" ซึ่งเขารู้ดีถึงความสามารถของอุปกรณ์ของเขาที่บันทึกภาพหรือวีดีโอมา ... ปัจจุบันกล้องวีดีโอส่วนใหญ่จะบันทึกมาแบบ Full-HD ขนาด 1920x1080 29.970 fps เป็นอย่างต่ำ (รายละเอียดในส่วนนี้ค่อยมาพูดกันอีกที)

สังเกตว่าเราเข้าถึงเมนูการตั้งค่า Project Property ได้ถึง 3 จุด
หรือจะเข้าทาง Short Cut : Alt+Enter (จุดที่ 4)

หน้าต่างการกำหนดค่าฯ
การตั้งค่า Render
     Render เป็นการส่งออกผลลัพท์ในงานของเราไปใช้งาน ซึ่งเราต้องรู้จุดประสงค์ก่อนว่าจะเอาไฟล์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วไปทำอะไร เพราะการนำไฟล์ไปใช้งานแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน (สังเกตที่นามสกุล เช่น .avi, .wmv, mp4 ...)
   
หลักการ render
ต้อง Render ให้ตรงกับ Format วีดีโอไฟล์ที่ตัดต่อ เช่น 720*576(SD), 1280*720(HD), 1920*1080(Full HD)
ต้อง Render ให้นามสกุลตรงกับการนำไปใช้ เช่น avi, mp4
Format Video ในโปรเจคเรา = 1920x1080, 29.970 fps / None (progressive scan)
  ... ที่สำคัญให้ตรงค่า Frame Rate (fps) และ Filels Order : Progressive / Upper(pal) / Lower(ntsc) เช่น ถ่ายมา 1920x1090-29.970p แล้วต้องการตัดต่อไปทำ Dvd ระบบ Pal ก็ตั้งค่าเป็น 720x576-25p
ขั้นตอนการ Render
     การเข้าถึงคำสั่ง Render ได้ 2 วิธี
จากเมนู File > Render as ...
จากทูลบาร์ Render as ...
การเรียกคำสั่ง Render

การกำหนดค่า

  1. เลือกโฟลเดอร์และตั้งชื่อไฟล์ในการจัดเก็บ
  2. เลือก Template (Sony AVC/MVC หรือ MainConcept AVC/AAC)
  3. เลือก Customize Template เพื่อกำหนดค่าในรายละเอียด


การตั้งค่าต่างๆ
 การตั้งค่าต่างๆ
>> Customize template (Sony AVC/MVC) <<
 > Tab : Video <
 Video Format : AVC
 Frame size : (1920x1080) --> ตามที่ถ่ายมา
 Profile : High
 Entropy coding : CABAC
 Frame Rate : 29.970 (fps)  --> ตามที่ถ่ายมา
 Filels Order : progressive --> ตามที่ถ่ายมา
 Bit Rate : 15 หรือ 16 Mbps
 Encode Mode  :: Render using CPU only
 check [/] Enable progressive download
 > Tab : Audio <
 : Sample rate (hz) :: 44,000
 : Bit rate (bps)     :: 128,000
 > Tab : Sysstem <
 : Format :: MP4               --> นำไปโพสต์ขึ้น Youtube
 > Tab : Project <
 : Video rendering quality :: Best
ตั้งชื่อเทมเพลท : เช่น Internet HD xxxp - MyRender1920x1080 กด save ไว้ใช้คราวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น